Money

Cashless Society มากกว่าแค่ลดการสัมผัส ตัวช่วยในการบริหารเงิน

Post by | Admin

Cashless-Society_info628

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาได้เปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมไปอย่างมาก ทุกคนมีความระมัดระวังเมื่ออยู่ท่ามกลางคนหมู่มาก เว้นระยะห่าง ลดการสัมผัสระหว่างกัน และสิ่งหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเช่นกันคือการหลีกเลี่ยงการจับเงินธนบัตรหรือเหรียญต่างๆ

คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์  เช่น การสแกนจ่ายผ่าน QR Code, การโอนเงินผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคารต่างๆ , การชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ หรือการซื้อสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยการตัดเงินผ่านบัตรเครดิต รวมถึงมาตรการภาครัฐที่กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการโอนเงินเข้า G-wallet ในแอปพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ส่งผลให้พฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงิน เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น

ผลการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีจากวีซ่า บริษัทผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก พบว่าโดยเฉลี่ยคนไทยสามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องใช้เงินสดได้นานถึง 8 วัน โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 51% ‘พกเงินสด’ น้อยลง และมองว่าไทยจะสามารถเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้ภายใน 4 - 5 ปีข้างหน้า

การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดช่วยเพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน และยังเพิ่มความปลอดภัยหากต้องทำธุรกรรมเป็นเงินจำนวนมาก และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย ทั้งยังลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจอยู่บนธนบัตรด้วย และนอกจากที่กล่าวมายังให้ประโยชน์ในแง่ของการบริหารการเงินส่วนบุคคลได้อีกด้วย

1. ตัวช่วยในการจดบันทึกบัญชีรายรับจ่าย
ทำให้การจัดการบัญชีของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้น เนื่องจากทุกครั้งที่มีการโอนเงินเข้าหรือออก จะมีการแจ้งเตือนจากธนาคารเสมอและรายการทั้งหมดยังถูกบันทึกอยู่ในรายการเดินบัญชีอีกด้วย
โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจด้วยแล้ว การรับเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้คุณจัดการรายได้ดีกว่ารับเงินสด เนื่องจากไม่ต้องมาเสียเวลานับเงินสดตอนปิดสิ้นวัน 

2. ตรวจสอบสถานะทางการเงินได้ง่าย 
เราสามารถเช็คยอดเงินในบัญชีได้ง่ายๆ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้สามารถรู้ได้ว่าเรามีเงินเหลืออยู่ เท่าไหร่ การได้เห็นสถานะทางการเงินของตนเองได้ชัดเจนขึ้น ทำให้บริหารจัดการเงินของเราได้ง่ายขึ้น ว่าควรแบ่งใช้และจัดสรรอย่างไร

3. เงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝาก สร้างดอกเบี้ยให้เสมอ
ปกติแล้วธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินคงเหลือในบัญชีให้ทุกๆ สิ้นวัน และสะสมไปจ่ายตามงวดที่บัญชีแต่ละประเภทกำหนด (ปกติจะจ่ายทุก 6 เดือน) ดังนั้นการที่มีเงินอยู่ในบัญชีนานขึ้นหรือรับเงินเข้าบัญชีเร็วขึ้น ก็จะทำให้เราได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเช่นกัน การทำธุรกรรมแบบไร้เงินสดโดยการเก็บเงินไว้ในบัญชีและโอนเงินจ่ายชำระเมื่อถึงเวลาต้องจ่ายและการรับชำระโดยการโอนเข้าบัญชี จึงให้ประโยชน์ในแง่การได้รับดอกเบี้ยมากกว่าการถือเงินสดไว้กับตัว

4. ช่วยลดต้นทุนแฝงจากการใช้เงินสด
นอกจากโอกาสในการได้รับดอกเบี้ยแล้ว การใช้เงินสดยังมีต้นทุนแฝงบางอย่างที่เราอาจคาดไม่ถึง เช่น ต้นทุนในการเดินทางไปธนาคาร หรือ หาตู้ ATM เพื่อถอนเงินสด ค่าธรรมเนียมในการถือบัตร ATM รวมถึงโอกาสที่จะทอนเงินผิด หรือความไม่สะดวกในการแตกแบงค์หรือหาเงินทอนอีกด้วย

การจะเป็นสังคมไร้เงินสดได้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้น โครงข่ายโทรคมนาคมครอบคลุมทุกพื้นที่และมีประสิทธิภาพ ประสบการณ์การทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ดีและง่ายขึ้น รวมทั้งการผลักดันจากภาครัฐทั้งในด้านผู้ประกอบการและผู้บริโภค

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

Suggested
21 Dec 2020
ชีวิตการเงินดีๆ เริ่มต้นที่ปี 2564
Money
26 Oct 2020
การลงทุนแบบ DCA vs ซื้อหวย อย่างไหนรวยมากกว่ากัน
Money
19 Oct 2020
เงินเฟ้อติดลบ มีผลกับเราหรือไม่
Money