KKP Contact Center :
02 165 5555
เงินสดพร้อมใช้ กดฟรีทันใจได้ทั่วโลก
ให้คุณป็นเจ้าของรถกระบะไฟฟ้า100% ครั้งแรกในประเทศไทย
ให้คุณป็นเจ้าของรถกระบะไฟฟ้า100%
ครั้งแรกในประเทศไทย
จองฟรีวันนี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ : การจองสิทธิ์ RIDDARA PRE-BOOKING ยังไม่ถือเป็นการยืนยันการจองซื้อรถยนต์
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 1.91% - 6.60% ต่อปี
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
**เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บริษัท ริดดารา ออโต้โมบาย (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดและสามารถดูรายละเอียดและข้อจํากัดการสั่งซื้อ เพิ่มเติมได้ที่ https://th.riddara.com
บุคคลธรรมดา
เอกสารการขอบริการ
บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
หมายเหตุ:
(?)สาระสำคัญของสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามประกาศ
(?)สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ต่างจาก สัญญากู้ซื้อบ้านอย่างไร
สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า โดยผู้เช่าซื้อจะได้ใช้ทรัพย์ในระหว่างที่เช่าและมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินค่าเช่าเป็นจำนวนงวดตามที่กำหนด และให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา ในกรณีที่มีการชำระเกินกว่าค่างวดที่กำหนดในแต่ละงวด เงินส่วนเกินนั้นจะถูกนำไปชำระเป็นค่างวดในเดือนถัดๆไป โดยถือเป็นการชำระค่างวดล่วงหน้าบางส่วนหรือเต็มจำนวน ทำให้ลูกค้าต้องชำระเพียงเงินส่วนขาด หรือไม่ต้องชำระค่างวดเลย ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินส่วนเกินที่ได้ชำระเข้ามา
แตกต่างจากการทำสัญญากู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย (สินเชื่อบ้าน)ที่เป็นการกู้ยืมเงิน เพื่อไปซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย โดยมีการทำสัญญาจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ โดยผู้กู้มีหน้าที่ชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่ธนาคาร ในกรณีที่ผู้กู้ชำระเงินเกินกว่าค่างวดที่กำหนดในแต่ละงวด เงินที่ชำระเกินจะถูกนำไปตัดชำระคืนเงินต้น โดยผู้กู้ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระค่างวดในเดือนถัดไป ตามเงื่อนไขในสัญญากู้เงิน
(?)ปัจจุบันการจ่ายดอกเบี้ยเช่าซื้อ เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบไหน ต่างกับประกาศฉบับใหม่อย่างไร
สัญญาเช่าซื้อ สคบ.61 และ สคบ.65 (ฉบับใหม่) เป็นสัญญา ที่คิดดอกเบี้ยแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) และมีการระบุอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก(Effective Interest Rate) ไว้ในสัญญา และสัญญาเช่าซื้อตามประกาศทั้งสองฉบับจะตัดรับชำระเงินแบบลดต้นลดดอก ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ฉบับปรับปรุง 2559) เรื่องสัญญาเช่า โดยดูได้จากตารางแสดงภาระหนี้ที่แนบท้ายสัญญาเช่าซื้อ ที่แสดงสัดส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนงวดที่เพิ่มขึ้น
(?)จากประกาศฉบับใหม่ ส่งผลกระทบต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อของธนาคารหรือไม่ อย่างไร
ปัจจัยหลัก ที่ส่งผลกระทบต่อการ ขึ้น/ลง ของดอกเบี้ย นั้นมาจากอัตราหนี้เสีย, สภาวะเศรษฐกิจ, ภาวะเงินเฟ้อ, ต้นทุนทางการเงินของธนาคาร โดยเพดานอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารประกาศกำหนดจะไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ สคบ.ประกาศกำหนดกรอบไว้ โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Interest Rate) สำหรับรถยนต์ใหม่ ไม่เกิน 10% ต่อปี สำหรับรถยนต์ใช้แล้ว ไม่เกิน 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ต่อปี
(?)กรณีที่ลูกค้า สนใจจองรถ ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ (10 มกราคม 2566) และต้องการให้เกิดสัญญาหลังประกาศมีผลบังคับใช้ จะส่งผลกระทบด้านใดบ้าง
กรณีที่ลูกค้า เซ็นสัญญาเช่าซื้อก่อนวันที่ 10 ม.ค.2566 แต่รับรถหลังวันที่ 10 มค. 2566 ลูกค้าจะต้องดำเนินการเซ็นสัญญาเช่าซื้อที่มีเงื่อนไขและสาระสำคัญตามประกาศ สคบ. 65 ใหม่
สำหรับอัตราดอกเบี้ย เป็นไปตามข้อตกลงที่ลูกค้าได้ตกลงไว้กับเจ้าหน้าที่การตลาดของธนาคาร แต่ต้องไม่ขัดต่อประกาศ สคบ. 65
(?)กรณีลูกค้าที่ Book Loan ก่อนวันที่ 10 มกราคม 66 มาปิดบัญชีหลังวันที่ 10 มกราคม 66 จะขอใช้เงื่อนไขตามประกาศนี้ได้หรือไม่
ประกาศ สคบ. 65 ไม่มีผลย้อนหลัง และไม่มีผลบังคับใช้สำหรับสัญญาที่ลงวันที่ ก่อนวันที่ 10 ม.ค.2566 จึงไม่สามารถใช้สิทธิส่วนลดดอกเบี้ยปิดบัญชีตามประกาศ สคบ. 65 ได้
ทั้งนี้ ลูกค้ายังคงได้รับสิทธิส่วนลดดอกเบี้ยกรณีปิดบัญชีก่อนกำหนด ที่ 50% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
(?)การยึดรถจะเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง
เงื่อนไขในการยึดรถไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของระยะเวลาการแจ้งใช้สิทธิในการซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน และการเพิ่มระยะเวลาการแจ้งก่อนการออกขายทอดตลาดDownload